วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รายชื่อหมอเฉพาะทางที่เก่งที่สุดในประเทศไทย


เป็นระดับ อ.แพทย์อีกที บางครั้งเข้าอาจไม่ได้ประจำอยู่ที่ รพ.แล้วก็ได้นะครับ โดยมากมักจะไปๆมาๆ หลาย รพ. ลองเช็คกับทาง รพ.ดูนะครับ

ประสาททางยา
1. ศ.น.พ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ (รามา)
2. ศ.น.พ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ (ศิริราช)
3. ศ.น.พ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (จุฬา)
4. น.พ.ยรรยงค์ ทองเจริญ (กรุงเทพฯ)

เด็ก
1. น.พ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา (รามา)
2. พ.ญ.ชนิกา ตู้จินดา (ศิริราช)
3. พ.ญ.จาดศรี ประจวบเหมาะ (กรุงเทพฯ)
4. น.พ.วิโรจน์ สืบหลิววงศ์ (จุฬา)

สูติกรรม
1. ศ.น.พ.สมหมาย ถุงสุวรรณ์ (ศิริราช)
2. น.พ.ประมวล วีรุตเสน (จุฬา)
3. น.พ.ไพจิตร เจริญขวัญ (ราชวิถี)
4. น.พ.กำแหง จาตุรจินดา (รามา)

หู คอ จมูก
1. น.พ.ประพจน์ คล่องสู้ศึก(วิชัยยุทธ)
2. น.พ.ศัลยเวช เลขะณุก (สหการแพทย์)
3. น.พ.คณิต มันตาภรณ์ (รามา)
4. น.พ.ประธาน สูตะบุตร (กรุงเทพฯ)
5. พ.ญ.สุจิตรา ประสานสุข (ศิริราช)

หัวใจและหลอดเลือด
1. น.พ.ศุภชัย ไชธีรพันธุ์ (ศิริราช)
2. พ.ญ.พึ่งใจ งามอุโฆษ (จุฬา)
3. น.พ.นิธิ มหานน (ศิริราช)

ปอด
1. น.พ.ยศวี สุขมาลจันทร์ (กรุงเทพฯ)
2. น.พ.อรรถ นานา (ศิริราช)
3. น.พ.ประกิจ วาทีสาถกิจ (รามา)
4. น.พ.ประสิทธิ์ กีรติกานน (สมิติเวช)

กระดูก
1. น.พ.เจริญ โชติกวณิชย์ (ศิริราช)
2. น.พ.ไพศาล จันทรพิทักษ์ (ภูมิพล)
3. น.พ.ชายธวัช งามอุโฆษ (จุฬา)
4. พลตรีสุปรียา โมคขเวช (พระมงกุฏ)

ไต
1. น.พ.วิศิษฐ์ สิตปรีชา (จุฬา)
2. น.พ.สง่า นิลวรางกุล (ศิริราช)
3. พ.ญ.อุ ษณา ลุวีระ (พระมงกุฎ)
4. น.พ.สุ ชาติ อินทรประสิทธิ์ (รามา)

ตา
1. น.พ.ธนัญชัย อติแพทย์ (รามา)
2. น.พ.สมอรรถ พัฒนกำจร (มงกุฎ)
3. น.พ.ประจักษ์ ประจักชเวช (จุฬา)
4. พ.ญ.โสมสราญ วัฒนโชติ (กรุงเทพฯ)

ผิวหนัง
1. พ.ญ.ปรียา กุลลวณิชย์ (แจ่มจันทร์)
2. พ.อ.น.พ.กฤษฎา ดวงอุไร (พระมงกุฏ)
3. พ.ญ.เพ็ญวดี ทิมพัฒนพงษ์ (รามา)
4. พ.ญ. พิมลวรรณ กฤติกรังสรรค์ (สถาบันโรคผิวหนัง)

ผ่าตัดทั่วไป
1. น.พ.เพรา นิวาตวงศ์ (พร้อมมิตร)
2. น.พ.เอาชัย กาญจนพิทักษ์ (รามา)
3. น.พ.กฤษณ์ จาฏมระ (จุฬา)
4. น.พ.ณรงค์ เลิศอักรมณี (ศิริราช)

ทางเดินอาหาร
1. ศ.น.พ.สุขา คุระทอง (รามา)
2. ร.ศ.น.พ.พินิจ กุลลวณิชย์ (จุฬา)
3. ศ.น.พ.สั จจพันธ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา (จุฬา)
4. น.พ. เกรียงไกร อัครวงศ์ (สมิติเวช) ***เสียชีวิตแล้ว

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การใช้ประโยชน์จากโปรแกรมจำลองแผ่น กรณีสื่อสำเร็จรูป

การเรียนรู้ผ่านสื่อสำเร็จรูป ที่อยู่ในแผ่น CD มีประโยชน์อยู่ไม่น้อย แต่การสำเนาหรือก๊อบปี้ลงแผ่น ก็มีข้อเสียตรงที่แผ่นที่ได้มักชำรุดได้ง่าย ทั้งส่งผลต่อเครื่องอ่าน (cd-rom driver) ทำให้อายุใช้งานสั้นลงด้วย
วิธีแก้ปัญหานี้ง่ายมาก ยิ่งคนที่ชอบเล่นเกมก็จะรู้จักกันดีอยู่แล้ว โดยการคัดลอกCD ต้นฉบับ ไว้ในรูปไฟล์ images ด้วยโปรแกรมนีโร จะได้ไฟล์สกุล *.nrg จากนั้นก็ใช้โปรแกรมจำลองแผ่นเปิดไฟล์นั้น เช่น โปรแกรมDaemon lite  แค่นั้นเอง
คราวนี้มาดูรายละเอียดกันบ้าง
1. คัดลอกCD ต้นฉบับ ไว้ในรูปไฟล์ images ด้วยโปรแกรมนีโร

การสร้างอิมเมจไฟล์ด้วยโปรแกรม Nero Burning Rom

การสร้างอิมเม จไฟล์ ก็คือ การจำลองแผ่นซีดีมาเป็นไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเมื่อเราเอาอิมเมจไฟล์ตัวนี้ไปเขียนใส่ซีดี ซีดีทุกแผ่นจะมีโครงสร้างเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็นจำนวนไฟล์, ชื่อแผ่นดิสต์ รวมทั้งข้อมูลที่เก็บอยู่ในแผ่นซีดี

ข้อดีของการสร้างอิมเมจไฟล์

การก๊อปปี้แผ่นซีดีนั้น ถ้าเราทำการก๊อปปี้เพียงแค่แผ่นเดียวก็จะไม่เห็นถึงความแตกต่างในการทำอิมเม จไฟล์ แต่ถ้าหากเราก๊อปปี้ มากกว่า 1 แผ่น การทำอิมเมจไฟล์เก็บไว้ในเครื่องย่อมดีกว่า เพราะเราไม่ต้องเวลาอ่านแผ่นต้นฉบับใหม่อีกครั้ง เมื่อเราต้องการ เขียนซีดีแผ่นที่ 2, แผ่นที่ 3 ก็แค่เปิดอิมเมจไฟล์แล้วก็จัดการเขียนใส่แผ่นซีดีได้เลย
อีกกรณีที่นิยมทำอิมเมจไฟล์ก็คือ ต้องการเอามาสร้างเป็น ไดร์ฟเสมือน (Virtual Drive หรือ Image Drive) ด้วยโปรแกรม Nero ImageDrive เช่น เกมส์ที่ต้องใส่แผ่นซีดีในเครื่องตลอดเวลาที่เล่น ซึ่งเมื่อเราสร้างเป็นไดร์ฟเสมือนแล้ว เราก็กำหนดให้เกมส์ไปอ่านข้อมูลที่ไดร์ฟเสมือนแทน ทำให้เราไม่ต้องใส่แผ่นในขณะเล่นเกมส์ ทำให้ลดการสึกหรอของหัวอ่านเครื่องเล่นซีดี และแผ่นซีดีด้วย ทั้งยังทำงานได้เร็วกว่าการใช้แผ่นจริงๆ ซะอีก

เริ่มต้นสร้างอิมเมจไฟล์

ใส่แผ่นซีดีเข้าไปในเครื่องเขียนซีดีก่อนเปิดโปรแกรม Nero (จะใส่หลังจากเปิดโปรแกรมก็ได้ แต่โปรแกรมจะทำการค้นหาแผ่น ก่อนที่จะใช้งานต่อได้)
1. เมื่อเราเปิดโปรแกรมขี้นมาใหม่ ให้เราคลิกที่ปุ่ม "ยกเลิก" ไปก่อน


2. เมื่อเราเข้ามายังหน้าหลักของโปรแกรม Nero ให้เรามาทำการเปลี่ยนไดว์เป็น Image Recorder ก่อน ขั้นตอนนี้จะเรียกว่าสำคัญที่สุดก็ว่าได้ เพราะเป็นตัวที่กำหนดว่าเราจะได้ Image ไฟล์ หรือจะเขียนลงแผ่นซีดีเลย


3. คลิกที่เมนู "ไฟล์" -> "สร้าง" หรือ กด Ctrl+N


4. ในที่นี้เราจะทำการก๊อปปี้ทั้งแผ่น ดังนั้นจึงเลือก "สำเนา CD"
5. ถ้าเรามีเครื่องอ่านซีดีมากกว่า 1 เครื่อง เราสามารถเลือกไดว์ได้โดยคลิกที่แท๊ป "คัดลอกตัวเลือก" แต่ถ้าเรามีแค่ไดว์เดียว ก็ไม่จำเป็นต้องทำการเปลี่ยนไดว์
6. เสร็จแล้วก็คลิกปุ่ม "คัดลอก" ได้เลย


7. โปรแกรมจะให้เราตั้งชื่อ และเลือกว่าจะเก็บไฟล์ไว้ที่ไหน ในที่นี้ตั้งชื่อว่า FFVII-install.nrg โดยเก็บไว้ที่ โฟลเดอร์ Nero เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม Save เพื่อเริ่มบันทึกเป็น Image ไฟล์


8. โปรแกรมกำลังอ่านข้อมูลในแผ่น และสร้างไฟล์


9. เมื่อโปรแกรมทำงานเสร็จเรียบร้อย ก็จะมีหน้าต่างแสดงขึ้นมาให้เราทราบ ให้เราคลิกที่ปุ่ม "ตกลง"

2. ใช้โปรแกรมจำลองแผ่นเปิดไฟล์นั้น เช่น โปรแกรมDaemon lite
 

Daemon Tools Lite เป็นโปรแกรมที่จะช่วยให้เราสามารถจำลองไดร์ฟ CD/DVD/Blu-Ray ซึ่งจะทำให้เราสามารถใช้งานไฟล์ image แผ่นได้ทันทีโดยไม่ต้องไรท์ลงแผ่นจริง โปรแกรมสามารถใช้งานกับไฟล์ image หลายนามสกุล เช่น ISO, NRG, BIN, CUE เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถใช้สร้างไฟล์ image จากแผ่นหรือจากไฟล์ในเครื่องก็ได้ ทำให้เราสามารถสำรองไฟล์สำคัญในเครื่องหรือแผ่นสุดโปรดได้อย่างง่ายดาย ในเวอร์ชั่นใหม่ได้มีการรองรับไฟล์นามสกุล APE และเพิ่มความสามารถในการลงโปรแกรมแบบ portable พร้อมทั้งการรองรับมาตรฐาน SPTD 1.78 ซึ่งทำให้สามารถใช้งานร่วมกับแผ่นที่ใช้มาตรฐานนี้ได้
ดาวน์โหลดฟรีที่
http://www.downloaddd.com/cd-and-dvd-tools/1888-daemon-tools-lite-4.41.3.html
ดูตัวอย่างการใช้งาน
http://www.ov3rsky.com/viewtopic.php?id=1882

ของฟรีบนระบบเครือข่าย ของดีที่หลายคนมองข้าม

คอลัมน์นี้ไม่เหมาะสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ถ้าท่านเก่งอยู่แล้ว กรุณาอย่าอ่านต่อ เดี๋ยวจะว่าเอาเรื่องพื้นๆมาคุย ก็ผมชอบอะไรที่มันไม่ยุ่งยากนี่ครับ....
หลายท่านคงใช้ระบบเครือข่ายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว กลุ่มคนเหล่านี้ทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ๆ อันเนื่องมาจากการใช้งานดังกล่าว แน่นอนว่าระบบนี้มีทั้งประโยชน์และโทษ วันนี้อยากคุยในส่วนที่เป็นประโยชน์ หลายเรื่องก็ถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย
ถ้าคุณรู้จักเครื่องมือค้นหายอดนิยมที่ชื่อว่า กูเกิล ที่คนไทยเรียกเขาว่า อาจารย์กู อากู๋ แล้วละก้อ ลองมาดูว่าคุณใช้งานได้คุ้มค่าแล้วหรือยัง อย่างเช่น แปลภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาอะไร ก็ใช้เครื่องมือ แปลภาษาช่วยได้ โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม จะหารูปสวยๆ แผนที่ ก็ทำได้ง่ายๆ แค่คลิกเมนูด้านบน(จอมอนิเตอร์)
เว็บ
รูปภาพ แผนที่ แปลภาษา กูรู Scholar Mail เพิ่มเติม
                                                                                                    
แต่บางอย่างก็ไม่ค่อยจะถูกใจเท่าไร เช่น กูรู ที่ถามได้ทุกเรื่องครับ แต่คำตอบ บางทีไม่ใช่กูรูตอบ แต่เป็นกูมั่วเสียมากกว่า
วันนี้ผมขอแนะนำเครื่องมือที่มีประโยชน์มากๆ ต่อใครหลายๆคน หลายๆหน่วยงาน ที่อยากมีเว็บไซต์ และ บล็อก ไว้ใช้แบบฟรีๆ ไม่มีหมดอายุ จนกว่ากูเกิลจะไม่มีให้ใช้แล้วโน่นแหละครับ
                                                                                            
ก่อนอื่นต้องมี เมลล์แอดเดรส ก่อนนะครับ จะhotmail yahoo ก็ได้ ถ้ายังไม่มีก็นี่เลย แนะนำ gmail  ถ้ามีแล้วก็ใช้สมัครเขียนเวบไซต์ และ บล็อก ได้เลยครับ
                                                                                   
                             คลิกที่เมนู  เพิ่มเติมครับ..............
แล้วเลือก ไซต์ หรือ บล็อก ตามที่อยากได้ครับ
                                                     
จากนั้นสมัครสร้างเว็บไซต์ที่
                                                                  
หรือสมัครสร้างบล็อกที่
แล้วคุณก็จะได้สร้างเว็บไซต์ และบล็อก ฟรีไว้ใช้ง่ายๆ ไม่มีหมดอายุด้วยนะ
                                                                              
ตัวอย่างเว็บไซต์ โรงเรียนที่ผมเขียนเองครับ
                                                     
ตัวอย่างบล็อก
                                                                                                 
ควรมีทั้งสองอย่างครับ ในส่วนของบล็อกนั้น ผมว่าง่ายกว่าบล็อก gotoknow อีก
ถ้าเราอยากเก็บภาพและข้อความ จะทำเป็นบทความ บันทึกอะไรก็ได้ สำหรับผม
มีประโยชน์ตรงเก็บภาพครับ  ไม่ต้องกลัวหาย ไม่ต้องมีแฟลชไดรฟ์ แค่เข้าเน็ตได้
ก็สบายแล้วครับ
                                                                            
ถ้ามีคนสนใจวิธีเขียนเว็บไซต์และบล็อก ผมพอช่วยได้ครับ ทำเองก็ไม่ยาก
ถ้ามีหน่วยงานที่ไม่ใช้เพื่อการค้า ยินดีแนะนำให้ฟรี แต่ตอนนี้ช่วยออกค่าเรือ
หรือเอาเรือมารับผมด้วยละกันครับ
                                                                                         
ปล.
1. เวบฟรีที่อื่นก็มีอีกหลายที่นะครับ ตัวอย่างเช่น
อันนี้ผมก็ว่าง่าย สะดวก ประหยัดดีครับ (ไม่ได้ค่าโฆษณา)
                                                                                      
2. เครื่องมืออื่นๆ ถ้ามีคนสนใจมากๆ(เกิน1,000คน) จะนำเสนอใหม่ครับ